เรียนครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์
ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่
4 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
การนำเสนองานของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ ภาษา
ความหมายของภาษา คือ ความคิด ความรู้ ความรู้สึก
และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้
ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์
ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์
2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน
3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์
4.มีระบบกฎเกณฑ์
ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วย
5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา
กลุ่มที่ ๒ แนวคิดทางภาษา
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม
และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
การซึมซับหรือการดูดซึม
(assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์
เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การปรับและจัดระบบ
(accommodation) คือ
กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้
เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
การเกิดความสมดุล
(equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ
หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น
หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้
ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ไวกอตสกี้ กล่าวว่า
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ
ตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและเข้าร่วมกิจกรรม
การช่วยเหลือและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ
ได้เกี่ยวกับการเล่นและกิจกรรมต่าง ๆ
กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก
เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้
จากแนวคิดพื้นฐานต่าง ๆ ของนักทฤษฎี นักการศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น
เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม
เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นไปโดยธรรมชาติจากการที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรง
ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
ได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรม
กลุ่มที่ ๓ พัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด-2 ปี
การเรียนรู้ 0-1 ขวบทารกแรกเกิด :
ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของแม่
อายุ 4 สัปดาห์ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อแม่คุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย
อายุ 6 สัปดาห์ :ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามอง
อายุ 3 เดือน :ทารกจะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที
อายุ 4 เดือน :ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม
อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น
อายุ 8 เดือน :ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง
อายุ 9 เดือน :ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง
อายุ 10 เดือน :ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ
รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :ทารกจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่
อายุ 12 เดือน : ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง
15
เดือน : ทารกจะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง
เช่น การหวีผม
18 เดือน : เมื่อแม่กับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล
วัว
21
เดือน : เด็กจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น
2
ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว
กลุ่มที่ ๔ พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์
(Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม
และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
กลุ่มที่ ๕ พัฒนาการเด็กช่วง 4-6 ปี
เด็กวัย 4 -6 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก
เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ
เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ
อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก
เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง
กลุ่มที่ ๖ จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะวัยที่สามารถจำแนกให้เห็นเป็นลักษณะเด่นประจำวัยได้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นปกติธรรมดาของเด็กวัยนี้ สมพร สุทัศนีย์ (2547:9) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( Preschool Child) ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาการทางกาย เด็กวัยนี้นับว่าเป็นเด็กวัยตอนต้นที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วแต่จะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าด้านข้างกล้ามเนื้อและกระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น
2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 3-5 ขวบ มักจะเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ และจะแสดงอารมณ์และจะแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างเปิดเผยและมีอิสระเต็มที่
3. พัฒนาการทางสังคม คำว่าสังคมในที่นี้ หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ การผูกพันและการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เด็กปฐมวัยหรือวัยก่อนเข้าเรียนได้เรียนรู้เข้าใจ และใช้ภาษาได้ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูที่อยู่ในชั้นอนุบาลได้อบรมสั่งสอน
4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเด็กจะเรียนรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 3 ขวบ จะรู้จักศัพท์ประมาณ 3,000 คำ และเด็กสามารถใช้คำ วลี และประโยคในการแสดงบทบาทตามแบบอย่างโทรทัศน์ได้
กลุ่มที่ ๗ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา (Schemata) เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม
และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี 2 อย่างคือ
1.การขยายโครงสร้าง (Assimilation)
2.การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)
1.การขยายโครงสร้าง (Assimilation)
2.การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)
เพียเจท์
(Piaget) ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4
ขั้นคือ
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor
Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง
2 ปี ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก
หู ตา ต่อสิ่งแวดล้อม
2.
ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational
Stage) อายุ
2 – 7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง
ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ
3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
(Concrete Operational Stage) อายุ 7 – 11 ปี เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น
และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน
4. ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal
Operational Stage) อายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด
จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ
กลุ่มที่ ๘ องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา
เสียง : นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร
เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน
ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด
คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์
แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
ความหมายของคำมี
2 อย่าง คือ
(1)
ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ
เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา
เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง
กลุ่มที่ ๙ หลักการจัดประสบการณ์ <ภาษาธรรมชาติ>
หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3
- 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา
โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม
สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์
จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล
หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช2546 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม
และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
และมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน
และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
การนำไปใช้
ได้รูว่าภาษาของเด็กนั้นเป็นอย่างไรได้รูว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ได้รับรู้ว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นอย่างไร
ได้รู้ว่าการเล่นเป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ซึ่งนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสิ่งต่างๆอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น