วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.12 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 น.

วันนี้เรียนครั้งสุดท้าย อาจารย์ตรวจตัวปั้มดาว และให้สรุปความรู้ที่ได้รับ





เรียนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.12 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 น.




          วันนี้ อาจารย์บอกว่า การที่จะเป็นครูต้องเขียนแผนการสอนเป็น วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ให้ช่วยกันเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของพวกเราได้ทำแผนการสอนเรื่อง ปลา กลุ่ของหนูทำงานออกมาสวยงามเพราะความร่วมมือกันในกลุ่ม






การนำไปใช้
-เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำสื่อการเรียนการสอน
-เพื่อให้มีความรู้ เเละต่อยอดความคิดเดิม

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี. 13/09/56
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:00


การเรียนวันนี้

                           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม ทำงานการจัดมุมการศึกษาอะไรก็ได้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ที่อาจารย์เตรียมมาให้ กลุ่มของข้าพเจ้าทำ มุมอาเซียน กลุ่มของข้าพเจ้าพากันทำงานอย่างตั้งใจมาก กว่างานจะเสร็จนานมากได้ส่งกลุ่มสุดท้าย  ภายในมุมของเราก็จะแบ่งเป็นห้องๆ แต่ละประเทศในแต่ละมุมจะมีหนังสือที่เกี่ยวกับแต่ละประเทศ และก็จะมีสิ่งที่ทำให้ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กมีมากมาย ครู ก็ให้ส่งตัวแทนแต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนองานของกลุ่มตัวเองด้วยนั้นเอง

การนำไปใช้
-ได้ฝึกกการทำงานเป็นทีม
-ได้ช่วยกันทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็ก
-มุมประสบการณ์เป็นสื่ออย่างดีสำหรับเด็ก

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 13

    บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน ศุกร์ ที่ 6 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.




การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
-สร้างสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กให้คุ้นเคยและควรใช้แบบองค์รวม
-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษามากเกินไป


หลักการ
-สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เหมาะกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะได้ ซึมซับผ่านการเล่นผ่านความสนุกสนาน เด็กต้องใช้การสังเกต ตั้งสมมุติฐาน ให้เด็กเกิดความสงสัย
-ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครู โดยการทำงานเป็นกลุ่ม เด็กควรได้ สื่อสารทั้ง 2 ด้าน ทั้ง ถามและตอบ
-สิ่งแวดล้อมเราควรเน้นเด็กให้มีความหมาย เด็กต้องรู้ว่ามุมๆนั้นคืออะไร และควรยอมรับการสื่อสาร ของเด็ก เพราะเด็กอาจสื่อสารผิดๆ
-สิ่งแวดล้อมรอบห้องไม่ควรจำกัดแค่คำพูด แต่เราควรคำนึงถึงอย่างอื่นด้วย เช่น การเล่น การแสดง บทบาทสมมุติ หรือการจัดที่หลากหลาย (หน้าที่ของครู คือ คอยส่งเสริมหลายรูปแบบ)


มุมประสบการณ์ทางการเรียนรู้ สาระทางภาษา
-มุมหนังสือ ควรมีชั้นวางที่เหมาะสมกับวัย บรรยากาศเงียบสงบ มีพื้นทีทั้งแบบตามลำพังและแบบกลุ่ม มีอุปกรณ์ครบ เช่นอุปกรณ์การเขียน
-มุมบทบาทสมมุติ ควรมีสื่อที่สามารถให้เด็กเข้าเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ
-มุมศิลปะ ควรจัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี ยางลบ กระดาษ เพื่อให้เด็กสร้างงานจาก จินตนาการของเขา
-มุมดนตรี มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของจริงและของเล่น เช่น ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ ภาษาจากเสียงของดนตรี


ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
-มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก
-ทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลายเมื่อเข้าไปเล่น
-บริเวณใกล้ๆควรมีอุปกรณ์ให้เด็กในการออกแบบ
-เด็กต้องมีส่วนร่วมและวางแผนในการจัดมุมนั้นด้วย





กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้คัด ก- ฮ 

                                                   



                             
                                                      

การนำไปใช้
-การเขียนหนังสือจะต้องเด็กอ่านออกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556


เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี. 30/08/56
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 16:00


                             วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้ออกแบบสื่อที่พัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย เมื่อออกแบบเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อของตัวเองว่าสื่อที่เราออกแบบชื่อสือว่าอะไร มีวิธีเล่นอย่างไร และประโยชน์ของสื่อ กลุ่มของดิฉันเองได้ทำสื่อที่มีชื่อว่า ทายซิ บ้านฉันอยู่ไหน วิธีการเล่น คือ ให้เด็กทายว่าสัตว์แต่ละตัวอาศัยอยู่ไหนแล้วให้เด็กนำภาพสัตว์ตัวนั้นไปวางไว้ในสถานที่ ที่สัตว์ตัวนั้นอาศัยอยู่ มีสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  และดิฉันก็ได้ออกไปนำเสนอ

เกม  ทายซิบ้านฉันอยู่ไหน

                                 



                                  


                                 


การนำไปใช้
-ได้รู้วิธีการจัดสื่อต่างๆให้กับเด็ก
-ได้รู้วิธีการนำเสนอและการนำไปใช้สำหรับเด็ก


วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 11
  
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23 สิงหาคม 2556
เรียนครั้งที่11 เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน 13:00 เวลาเลิกเรียน 15:00


                                     เรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
          
           1. วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
           2. เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
           3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ทางภาษา
           4. เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา นั้นเอง


                                   ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
       
        - เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
        - เข้าใจได้ง่าย
        - เป็นรูปธรรม
        - จำได้ง่ายๆ เร็ว และ นาน

             
                                ประเภทของสื่อ
    
     1. สื่อสิ่งพิมพ์
         - สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
         - เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
         - หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
     2. สื่อวัสดุอุปกรณ์
         - สิ่งของต่างๆ
         - ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
    3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
        - สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
        - คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
    4. สื่อกิจกรรม
       - วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
       - ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
       - เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
   5. สื่อบริบท
      - สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
      - สภาพแวดล้อม
      - ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

       หลังจากที่สอนเสร็จ อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรม โดยแจกกระดาษและสีให้นักศึกษา ให้วาดรูปอะไรก็ได้พร้อมระบายสีให้สวยงาม ตามด้วยเขียนใต้ภาพเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

                                                            

     
                                           

การนำไปใช้
-ได้รูวิธีการทำสื่อจากกระดาษ A4 และการลงสี
-ได้รู้จักการสอนสื่อต่างๆให้เด็ก
-ได้รู้ว่าอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำสื่อให้เด็กนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสือที่มีราคาแพง แต่อาจเป็นสื่อที่นำมา  
  ผลิตเองได้
-สื่อธรรมชาติ สามารถนำมาสอนเด็กได้
-การร้องเพลง หรือพับกระดาษเป็นสื่อสอนเด็กได้




วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 เรียนครั้งที่ 10 
                                                                         บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

การเรียนในวันนี้  คุณครูให้นักศึกษา ทำสื่อสำหรับเด็กเกี่ยวกับ 10 ประเทศอาเซี่ยน โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ทำสื่อเป็นธง ชักขึ้นชักลง




สิ่งที่ได้รับและการนำไปใช้
-ได้รู้จักธงชาติของ 10 ประเทศอาเซี่ยน
-ได้รู้จักวิธีการสอนเด็กให้รู้จักเกี่ยวกับประเทศอาเซี่ยน
-ได้รู้จักขั้นตอนการทำสื่อสำหรับเด็ก

                                                          


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 9
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



กิจกรรมในวันนี้

 อาจารย์ให้นักศึกษาทั้งห้องร่วมกันทำ Bigbook ซึ่งเพื่อนทั้งห้องได้ร่วมแสดง คิดเห็นและช่วยกันแต่งนิทานเรื่องหนึ่ง และนำมาทำเป็นหนังสือนิทานขนาดใหญ่  เพื่อจะได้นำไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กได้ และนิทานที่เพื่อนช่วยกันแต่ ก็ได้ให้ประโยชน์กับดิฉันหลายอย่าง
วันนี้เพื่อนๆช่วยกันแต่งนิทานเรื่องหนึ่งซึ่งมีกระต่ายเป็นตัวเอก

                                                      

                                            
                               
                                             
                          เนื้อเรื่องที่ช่วยกันแต่ง คือ บทเรียนของ กระต่ายน้อย



                                  
                                                มีครอบครัวกระต่ายอยู่ครอบครัวหนึ่ง สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียว ครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกกระต่าย สองตัว
                                         
ลูกกระต่ายชอบแย่งแครอทกัน น้องชอบแย่งแครอทพี่และฝ่ายพี่ก็ยอมเสียสละให้น้องเสมอ เพราะเชื่อฟังที่พ่อแม่สอน แต่กระต่ายตัวน้องก็เอาแต่ใจเกินไป ต้องให้พี่ยอมน้องทุกเรื่อง

                                
วันหนึ่งมีกระรอกตัวหนึ่งมาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไป

                                 
น้องเลยได้แต่นั่งร้องไห้ พอพี่กระต่ายเห็นเลยนำแครอทของตนมาให้กับน้องกระต่าย น้องกระต่ายจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมพี่ถึงเอาแครอทมาให้ และพี่ก็บอกว่า "เราเป็นพี่น้องกันก็ต้องแบ่งปันกัน"

                                 
น้องกระต่ายได้ฟังคำที่พี่กระต่ายพูด เลยได้ตัดสิ้นใจหักแครอทแบ่งกับพี่คนละครึ่ง 

                                  
 หลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจอีกเลย                        

 การนำไปใช้
-สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ ไปใช้กับเด็กได้ โดยการขอความร่วมมือกับเด็ก ให้เด็กได้แสดงความสามารถของคน
-ได้ฝึกทักษะ การทำงานเป็นทีม และสามารถนำไปพัฒนากับเด็กได้
-ได้มีทักษะการสังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถนำไปสังเกตเด็กได้
-ได้ฝึกทักษะการพูด และความกล้าแสดงออก



วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 8


  บันทึกอนุทิน

   วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

      วัน ศุกร์ ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556

(วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการสอบกลางภาค ของทางมหาวิทยาลัย )

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 7 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.

ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปตามความสนใจของตนเอง
เมื่อวาดภาพเสร็จก็ให้นักศึกษานำภาพของตนเองมาหน้าห้องแล้วเล่าเป็นนิทาน
เมื่อเพื่อนคนที่ 1 เล่าเสร็จ ให้เพื่อนคนต่อไปนำภาพของตนเองมาประกอบต่อ
แล้วเล่านิทานต่อจากเพื่อนคนแรก โดยให้เนื้อเรื่องของเพื่อนทุกคนครบถ้วน
และมีเนื้อหาที่คล้องจองกันทุกคน จนจบคนสุดท้าย
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ
-การสังเกตการเล่านิทานของเพื่อนเป็นการฝึกทักษะ
-การสื่อสารของเพื่อนสามารถนำมาประกอบเป็นนิทานได้

การประเมิน
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2. เน้นที่ความก้วหน้าของเด็ก
    -บันทึกสิ่งที่เด็กทำ
    -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กได้มีโอกาศประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  เตือนความจำ
-อ่านคำค้องจอง
-ร้องเพลง
-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนส่งสารถึงกัน
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ควรประเมินผลงานของเด็กทุกขั้นตอนการทำงาน
- การประเมินเด็กควรถามเด็กว่า ผลงานที่ออกมานั้นคืออะไร ก่อนที่ครูจะประเมินเด็ก
-ในการประเมินเด็กครูควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กด้วย
- ควรให้ความสำคัญต่อการประเมินผลงานเด็กด้วย

                                                      
                                       
                                                                                                                                                                          
                                                       

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6 
                                                              บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.


ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
แนวทางการจักประสบการณ์ทางภาษา
ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา 
 Skill Approch

- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                                                                       Keneth Goodman
                                                                   
- เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีคามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
                                                                
2. การสอนภาษแบบธรรมชาติ
Whole Language
ทฤษฎีมีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                                                      Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
                              
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- การเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสจับ้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธิพลองสังคมและบุคคลอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- สอนบูรณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ และมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเองและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
-ไม่บังคบให้เด็กเขียน
                                                                       
หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม (2540)
1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
- เด็กสามารถอ่าน เขียน ได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสในการทดลองภาษา
- เด็กได้คาดเดา หรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามจังหวะขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสารถ
- มีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ
บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย 2541)
- ครูคาดหวังเด็กแต่คนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่านการเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจ ในคำและสิ่งพิมพ์
การนำไปใช้
- การที่เด็กจะสื่อสารนั้นต้องมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- ควรเชื่อมั่นว่าเด็กสามารถอ่าน เขียนได้ 
- เด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ในการแสดงพฤติกรรมทางการใช้ภาษา
- เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแตกต่างกัน
-ไม่ควรบังคับเด็ก