วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 2 
                                                              บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 21  มิถุนายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.

 เรียนเรื่อง : ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย          

                  ความหมายของภาษา : การสื่อความมหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่างๆภายในของมนุษย์เรา

                                                          ความสำคัญของภาษา
1 ภาษเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ภาษเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้
ภาษเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
ภาษเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
                                                              
                                                  ทักษะทางภาษาประกอบด้วย
การฟัง
การพูด
การอ่าน
การเขียน
                                    ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของ  <Piaget>
      การที่เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็ก เพราะ ภาษาจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีปฎิสัมพันธ์ เช่น การพูดคุยกันกับเพื่อน

                                   กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
           1.การดูดซึม Assimilation : เป็นการที่เด็กได้รู้ ได้ดูดซึมภาพต่างๆจากสภาพแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น สัตว์ที่มีปีก เด็กก็จะคิดว่าเป็นนก
           2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ Accomodation : เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์เดิม เช่น นก คือ สัตว์ที่มีปีก บินได้ ปากแหลมๆ และร้องจิ๊บๆ เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล Equilibrium กลายเป็นความคิดรวบยอดของสมอง
          
                                                พํฒนาการด้านภาษามี 4 ขั้น
      1. ด้านประสาทสัมผัส Sensorimotor Stage : เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว
      2.ความคิดอย่างมีเหตุผล Preoperational Stage : เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมุติ การเล่าเรื่อง ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
      3.รูปธรรม Concrete Operational Stage : แก้ปัญหา ใช้เหตุผล
      4.นามธรรม Formal Operational Stage : คิดเป็นระบบ แก้ปญหา เข้าใจกฏเกณฑ์ทางสังคม  และสร้างมโนทัศน์ให้ความสัมพันธ์กับนามธรรม

                                                    พัฒนาการทางภาษา 
       เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้นตอน ครูต้องเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการ การเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก

                                                     จิตวิทยาการเรียนรู้ :
1. ความพร้อม 
      วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
      อิทธิพลทางพันธุกรรม และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ 
      การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม 
      ทางบวก และทางลบ

การนำไปใช้
ได้รู้ว่าความพร้อมของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
ได้รูว่าแรงเสริมมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็ก
ได้รู้ว่าความหมายของภาษา คือ การสื่อความมหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่างๆภายในของมนุษย์เรา

                                                                        


       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น