วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 7 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.

ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปตามความสนใจของตนเอง
เมื่อวาดภาพเสร็จก็ให้นักศึกษานำภาพของตนเองมาหน้าห้องแล้วเล่าเป็นนิทาน
เมื่อเพื่อนคนที่ 1 เล่าเสร็จ ให้เพื่อนคนต่อไปนำภาพของตนเองมาประกอบต่อ
แล้วเล่านิทานต่อจากเพื่อนคนแรก โดยให้เนื้อเรื่องของเพื่อนทุกคนครบถ้วน
และมีเนื้อหาที่คล้องจองกันทุกคน จนจบคนสุดท้าย
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-การเล่านิทานเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ
-การสังเกตการเล่านิทานของเพื่อนเป็นการฝึกทักษะ
-การสื่อสารของเพื่อนสามารถนำมาประกอบเป็นนิทานได้

การประเมิน
1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2. เน้นที่ความก้วหน้าของเด็ก
    -บันทึกสิ่งที่เด็กทำ
    -ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กได้มีโอกาศประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  เตือนความจำ
-อ่านคำค้องจอง
-ร้องเพลง
-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนส่งสารถึงกัน
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ควรประเมินผลงานของเด็กทุกขั้นตอนการทำงาน
- การประเมินเด็กควรถามเด็กว่า ผลงานที่ออกมานั้นคืออะไร ก่อนที่ครูจะประเมินเด็ก
-ในการประเมินเด็กครูควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กด้วย
- ควรให้ความสำคัญต่อการประเมินผลงานเด็กด้วย

                                                      
                                       
                                                                                                                                                                          
                                                       

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6 
                                                              บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.


ความรู้ที่ได้รับจากวันนี้
แนวทางการจักประสบการณ์ทางภาษา
ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา 
 Skill Approch

- ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
- ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ
- ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                                                                       Keneth Goodman
                                                                   
- เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีคามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
                                                                
2. การสอนภาษแบบธรรมชาติ
Whole Language
ทฤษฎีมีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                                                      Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
                              
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- การเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสจับ้องกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธิพลองสังคมและบุคคลอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- สอนบูรณาการ / องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ และมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเองและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
-ไม่บังคบให้เด็กเขียน
                                                                       
หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
นฤมน เนียมหอม (2540)
1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
- เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
- เด็กสามารถอ่าน เขียน ได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสในการทดลองภาษา
- เด็กได้คาดเดา หรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามจังหวะขั้นตอน
8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสารถ
- มีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ
บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย 2541)
- ครูคาดหวังเด็กแต่คนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่านการเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจ ในคำและสิ่งพิมพ์
การนำไปใช้
- การที่เด็กจะสื่อสารนั้นต้องมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- ควรเชื่อมั่นว่าเด็กสามารถอ่าน เขียนได้ 
- เด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ในการแสดงพฤติกรรมทางการใช้ภาษา
- เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแตกต่างกัน
-ไม่ควรบังคับเด็ก
                                                       




วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 5                                                  
 บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 12  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับวีนนี้
การนำเสนอของกลุ่มที่ ๑๐ พัฒนาการด้านสติปัญา
ลำดับขั้น
1  0-2 ปี   เด็กจะลองใช้พฤติกรรม  ลองผิดลองถูก
2  2-4 ปี   เด็กจะเริ่มใช้ภาษาและความเข้าใจ
3    5  ปี   เด็กจะไม่เข้าใจขนาด ไม่เข้าใจรูปทรง

องค์ประกอบ
ความสามารถในด้านความเข้าใจทางภาษา
ความสามารถในด้านตัวเลข
ความสามารถในด้านการใช้เหตผลเชิงแก้ปัญหา
ความสามารถในด้านการใช้เหตผลเชิงตรรก
ความสามารถในด้านความจำ
ความสามารถในด้านการใช้เหตผลเชิงสังเกต
ความสามารถในด้านทางมิติสัมพันธ์

โครงสร้างของสติปัญญา
  การรับรู้ 
  การจำ
วัยทารกเจริญขึ้นเรื่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
                                                                            

องค์ประกอบของภาษา
1. phonology
คือระบบเสียงของภาษา
เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2. semantic
คือความหมายของภาษาในคำศัพท์
คำศัพท์บางคำอาจมีได้หลายความหมาย
ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
3. syntax
คือระบบไวยากรณ์
การเรียงรูปประโยค
4. pragmatic
คือระบบการนำไปใช้
ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฏีของ skinner
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
ให้ความสำคัญของสิ่งเร้าและการตอบสนอง

                                                          

ทฤษฏีของ john B watson
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การงางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤคิกรรม

                                                            

สรุป
นักพฤติกรรมนิยมเขื่อว่า
ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยวสิ่งแวดล้อม
เด้ฏเกิดมาดดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว
เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
piagat
เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญา
                                                          

Vygotsky
เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษของเด็ก
เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ควรชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
                                                             

3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
Arnold Gesell
เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
เด็กบางตนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
เด็กบางตนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
                                                               

4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษา
Noam Chomsky
ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพการเรียนรู้ภาษามาตั้งเกิด เรียกว่า LAD Language Acquisition Devic
                                                                

O Hobart Mowrer
ทฤษฏีความพึงพอใจ
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
เป็นสิ่งที่สะท้อนปรั๙ญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
                                                                    


  Richard and Roder 1995
แบ่งมุมมองออกเป็น  3  กลุ่ม
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
นำองค์ประกอบย่อยของภาษา มาใช้ในการสื่อความหมาย
เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลีหรทอประโยค
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
การจัดประสบการร์เน้นการสื่อความหมาย
ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม
การแลกเปลื่ยนประสบการณ์
เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

การนำไปใช้
สามารถนำความรู้ที่จากการเรียนในครั้งนี้ไปประยุกต์ในการสอนเด็กในอนาคต
ได้รู้ว่าพฤติกรรมทางภาษาของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
ได้รู้ว่าการเลียนแบบของเด็กเกิดจาการสังเกตพฤติกรรม
ได้รู้ว่าการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
                                                                        



วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 4                                               
   บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 5  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

การนำเสนองานของแต่ละกลุ่มมีดังนี้
ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ ภาษา
            ความหมายของภาษา คือ ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
            ความสำคัญของภาษา
         1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์
          2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน 
         3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ 
         4.มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วย
         5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา 
กลุ่มที่ ๒ แนวคิดทางภาษา
             เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา 
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
           ไวกอตสกี้ กล่าวว่า เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาของตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้เกี่ยวกับการเล่นและกิจกรรมต่าง ๆ
           กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ จากแนวคิดพื้นฐานต่าง ๆ ของนักทฤษฎี นักการศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นไปโดยธรรมชาติจากการที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรม
กลุ่มที่ ๓ พัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด-2 ปี
การเรียนรู้ 0-1 ขวบทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของแม่
อายุ 4 สัปดาห์  ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อแม่คุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย 
อายุ 6 สัปดาห์ :ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ :ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามอง
อายุ 3 เดือ :ทารกจะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที
อายุ 4 เดือน :ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม 
อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น
อายุ 8 เดือน :ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง 
อายุ 9 เดือน :ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง
อายุ 10 เดือน :ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :ทารกจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่
อายุ 12 เดือน : ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง
15 เดือน : ทารกจะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม 
18 เดือน : เมื่อแม่กับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว 
21 เดือน : เด็กจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น 
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว 
กลุ่มที่ ๔ พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น 
กลุ่มที่ ๕  พัฒนาการเด็กช่วง 4-6 ปี
         เด็กวัย 4 -6 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง
กลุ่มที่ ๖ จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กวัยต่าง  จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะวัยที่สามารถจำแนกให้เห็นเป็นลักษณะเด่นประจำวัยได้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นเป็นพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นปกติธรรมดาของเด็กวัยนี้ สมพร สุทัศนีย์ (2547:9) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ( Preschool Child) ดังต่อไปนี้
         1. พัฒนาการทางกาย เด็กวัยนี้นับว่าเป็นเด็กวัยตอนต้นที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วแต่จะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าด้านข้างกล้ามเนื้อและกระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น 
          2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 3-5 ขวบ มักจะเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ และจะแสดงอารมณ์และจะแสดงอารมณ์ต่าง  ออกมาอย่างเปิดเผยและมีอิสระเต็มที่ 
          3. พัฒนาการทางสังคม คำว่าสังคมในที่นี้ หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ การผูกพันและการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน เด็กปฐมวัยหรือวัยก่อนเข้าเรียนได้เรียนรู้เข้าใจ และใช้ภาษาได้ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูที่อยู่ในชั้นอนุบาลได้อบรมสั่งสอน
          4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเด็กจะเรียนรู้ศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 3 ขวบ จะรู้จักศัพท์ประมาณ 3,000 คำ และเด็กสามารถใช้คำ วลี และประโยคในการแสดงบทบาทตามแบบอย่างโทรทัศน์ได้ 
กลุ่มที่ ๗ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ 
1.การขยายโครงสร้าง (Assimilation)
2.การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  
เพียเจท์ (Piaget)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ           
1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม 
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2  7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ
3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7  11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน
4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ
กลุ่มที่ ๘ องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
          ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา 
เสียง :  นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
 (2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง
กลุ่มที่ ๙ หลักการจัดประสบการณ์ <ภาษาธรรมชาติ>
            หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล 
หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2546 มีสาระสำคัญ ดังนี้        
         1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
         2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
         3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม
         4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
         5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก  
             
การนำไปใช้
ได้รูว่าภาษาของเด็กนั้นเป็นอย่างไร
ได้รูว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ได้รับรู้ว่าพัฒนาการด้านสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นอย่างไร
ได้รู้ว่าการเล่นเป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ซึ่งนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสิ่งต่างๆอีกด้วย